จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการศึกษาโดยใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต มีระบบทวิภาค และระบบตรีภาค

  • ระบบทวิภาค แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา โดยอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลาย
    • ภาคการศึกษาต้น (สิงหาคม – ธันวาคม)
    • ภาคการศึกษาปลาย (มกราคม – พฤษภาคม)
    • ภาคฤดูร้อน (มิถุนายน – กรกฎาคม)
  • ระบบตรีภาค* แบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษา
    • ภาคการศึกษาที่ 1 (สิงหาคม – พฤศจิกายน)
    • ภาคการศึกษาที่ 2 (ธันวาคม – มีนาคม)
    • ภาคการศึกษาที่ 3 (เมษายน – สิงหาคม)

* ระบบตรีภาค ใช้เฉพาะในบางหลักสูตรของระดับบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ: บางคณะ/หลักสูตรอาจจัดการศึกษาในระบบอื่นนอกเหนือจากระบบทวิภาคและระบบตรีภาค โปรดศึกษาก่อนสมัคร

  • ปริญญาบัณฑิต (หลักสูตรปกติ)
  • ปริญญาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
  • บัณฑิตศึกษา

ปริญญาบัณฑิต (หลักสูตรปกติ)

รับสมัครผ่านระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ปัจจุบันคัดเลือกเข้าศึกษา 3 รอบ ได้แก่

  • รอบที่ 1 : แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เริ่มรับสมัครช่วงเดือนพฤศจิกายน
  • รอบที่ 2 : โควตา (Quota) เริ่มรับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์
  • รอบที่ 3 : แอดมิชชั่น (Admission) เริ่มรับสมัครช่วงเดือนพฤษภาคม

คุณสมบัติและเงื่อนไขการรับสมัครเข้าศึกษา เป็นไปตามที่คณะและหลักสูตรกำหนด ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบรับสมัคร

ปริญญาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ผู้มีสัญชาติไทยที่ต้องการสมัครหลักสูตรนานาชาติ ต้องสมัครผ่านระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) ปัจจุบันคัดเลือกเข้าศึกษา 2 รอบ ได้แก่

  • Early Admission: รับสมัครช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
  • Admission: รับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
  • เฉพาะหลักสูตร CU-MEDi (แพทยศาสตรบัณฑิต นานาชาติ) รับสมัครเดือนกุมภาพันธ์รอบเดียว

คุณสมบัติและเงื่อนไขการรับสมัครเข้าศึกษา เป็นไปตามที่คณะและหลักสูตรกำหนด ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละรอบรับสมัคร

บัณฑิตศึกษา

ผู้สนใจเข้าสมัครสอบคัดเลือกในระดับบัณฑิตศึกษา สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่ www.register.gradchula.com

  • เข้าศึกษาใน ภาคการศึกษาต้น: รับสมัครช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป
  • เข้าศึกษาใน ภาคการศึกษาปลาย: รับสมัครช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป

ระยะเวลา กำหนดการรับสมัคร คุณสมบัติ เงื่อนไขการรับสมัครเข้าศึกษา เป็นไปตามที่คณะและหลักสูตรกำหนด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียกเก็บค่าเล่าเรียน โดยแบ่งตามกลุ่มคณะ ในอัตราดังนี้

กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มที่ 1คณะแพทยศาสตร์ / คณะทันตแพทยศาสตร์ / คณะสัตวแพทยศาสตร์
สหสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ / สหสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ / สหสาขาวิชาทันตชีววัสดุศาสตร์
สหสาขาวิชาสรีรวิทยา / สหสาขาวิชาชีวสารสนเทศศาสตร์และชีววิทยาเชิงคอมพิวเตอร์
กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มที่ 2คณะจิตวิทยา / คณะพยาบาลศาสตร์ / คณะเภสัชศาสตร์ / คณะสหเวชศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา / วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข / สหสาขาวิชาเภสัชวิทยา
กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพคณะวิทยาศาสตร์ / คณะวิศวกรรมศาสตร์ / คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ
สหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยี / สหสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
สหสาขาวิชาการจัดการสารอันตรายและสิ่งแวดล้อม / สหสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
กลุ่มสังคมศาสตร์คณะครุศาสตร์ / คณะนิติศาสตร์ / คณะนิเทศศาสตร์ / คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
คณะรัฐศาสตร์ / คณะเศรษฐศาสตร์ / สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร / วิทยาลัยประชากรศาสตร์
สหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ / สหสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
สหสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม / สหสาขาวิชาการบริหารกิจการทางทะเล
สหสาขาวิชาเกาหลีศึกษา / สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม / สหสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ
สหสาขาวิชายุโรปศึกษา / สหสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมการพัฒนาและความยั่งยืน
สหสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา / สหสาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการทางนวัตกรรม
กลุ่มมนุษยศาสตร์คณะอักษรศาสตร์ / คณะศิลปกรรมศาสตร์ / หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีบำบัด
อ้างอิง: ประกาศจุฬาฯ เรื่อง อัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน พ.ศ. 2562 และ ประกาศจุฬาฯ เรื่อง อัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563

ตรวจสอบอัตราค่าเล่าเรียน:

1. ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา

  • ตรวจสอบรายชื่อผ่านระบบ TCAS หรือจากประกาศของคณะ/หลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษา
  • วันและเวลาประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา เป็นไปตามกำหนดการของสำนักบริหารวิชาการ หรือตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด

2. สอบถามเลขประจำตัวนิสิตใหม่

3. รับรหัสผ่าน CU-NET

4. ลงทะเบียนแรกเข้า

  • กรอกประวัติ อัปโหลดเอกสาร และรูปถ่ายนิสิต เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตจุฬาฯ และทำบัตรประจำตัวนิสิต ที่ระบบลงทะเบียนแรกเข้า
  • ติดตามกำหนดการ และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ ที่เว็บไซต์สำนักงานการทะเบียน

5. ลงทะเบียนเรียน

6. ชำระค่าเล่าเรียน

  • ชำระค่าเล่าเรียนผ่าน Application CU-NEX ภายในช่วงเวลาที่กำหนด (อ่านวิธีชำระค่าเล่าเรียน: คลิก)
  • ติดตามกำหนดการชำระเงินค่าเล่าเรียนได้จากเว็บไซต์สำนักงานการทะเบียน